ถาม-ตอบ “การสอบเข้ารับราชการ ตำแหน่ง 38 ค. (2)” สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, รับ 208 อัตรา สมัคร 1.2 แสนคน

14 มิถุนายน 2565 / นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าจากการที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 208 อัตรา สมัคร 27 พ.ค.-10 มิ.ย. 65 ….. รับชมรายการย้อนหลังได้ที่ Facebook

อัตราตำแหน่งที่เปิดสอบรวม 208 อัตรา

1)  ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ จำนวน 143 อัตรา ดังนี้

ตำแหน่งที่ 1 นักวิชาการเงินและบัญชี  จำนวน 13 อัตรา
ตำแหน่งที่ 2 นักวิชาการตรวจสอบภายใน  จำนวน 12 อัตรา
ตำแหน่งที่ 3 นักวิชาการพัสดุ  จำนวน 15 อัตรา
ตำแหน่งที่ 4 นักประชาสัมพันธ์  จำนวน 3 อัตรา
ตำแหน่งที่ 5 นักทรัพยากรบุคคล  จำนวน 30 อัตรา
ตำแหน่งที่ 6 นักวิชาการศึกษา  จำนวน 43 อัตรา
ตำแหน่งที่ 7 นักวิเคราะห์นโยบายและแผน  จำนวน 19 อัตรา
ตำแหน่งที่ 8 นิติกร  จำนวน 8 อัตรา

2)  ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน จำนวน 65 อัตรา

ตำแหน่งที่ 1 เจ้าพนักงานธุรการ  จำนวน 65 อัตรา

38 ค. (2) ต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญอย่างไร ทำไมไม่ต้องสอบภาค ก. ของ ก.พ.

สป.ศธ. ประกาศรับสมัครสอบฯ เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง บุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ซึ่ง ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสอบแข่งขันฯ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.5/ว27 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. สป.

  1. เป็นผู้ดำเนินการสอบทั้ง 3 ภาค หรือ 
  2. เป็นผู้ดำเนินการสอบ ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยเปิดรับสมัครจากผู้สอบผ่านภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ของ ก.พ.

ซึ่ง สป.ศธ. ใช้ตามข้อ 1.

หากสมัครสอบมากกว่า 1 ตำแหน่ง จะถูกสละสิทธิ์หรือไม่

ระบบการรับสมัคร จะเก็บข้อมูลจากเลขประจำตัวประชาชน  ไม่ว่าผู้สมัครจะสมัครสอบตำแหน่งใด (ทั้ง 9 ตำแหน่ง) จะสามารถสมัครได้เพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น ระบบจะไม่ให้สมัครมากกว่า 1 ตำแหน่ง

หน่วยงานใดเป็นผู้จัดสอบ ออกข้อสอบ สอบที่ไหน เมื่อไร

สป.ศธ. เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ โดยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บริหารจัดการดำเนินการการสอบ รวมทั้งการออกข้อสอบ ตรวจข้อสอบ เนื่องจากมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก ประมาณ 120,048 ราย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงกำหนดสนามสอบตาม (ร่าง) (กรุณาตรวจสอบประกาศ และกำหนดการสอบ อย่างเป็นทางการอีกครั้ง)

กำหนดสอบ ภายในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ และวันสอบภายในวันที่ 25 มิ.ย. 65

ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบและรายละเอียดต่าง ๆ ในการสอบเมื่อไร

คาดว่าประมาณ ภายในวันที่ 25 มิถุนายน 2565

หลักสูตรการสอบ ภาค ก. เหมือน ก.พ.ไหม

ภาค ก. ของ ก.พ. ภาค ก. ของ ก.ค.ศ.
1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นการทดสอบ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมประเด็น ดังนี้ (1) การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจ ในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ (2) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่าง ๆ และ (3) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอของข้อมูล

2. วิชาภาษาอังกฤษ เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสม ทั้งในเชิงความหมาย และบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบ การทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ ในระดับเบื้องต้น

3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติ และจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
1. วิชาความสามารถทั่วไป  ดังนี้ 1) ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่าง ๆ 2) ความสามารถด้านเหตุผล ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่าง ๆ

2. วิชาภาษาไทย 1) ความเข้าใจภาษา ทดสอบความสามารถในการอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนด ให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ ทั้งนี้ รวมไปถึงการสรุปความและตีความด้วย 2) การใช้ภาษา ทดสอบความสามารถในการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ

สอบถามปัญหา คลายข้อสงสัย ที่หน่วยงานใด เบอร์โทรอะไร

สอบถามได้ที่ กลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักอำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โทร. 02 280 2861

ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ

คำที่ค้นหาบ่อย สอบราชการ สอบ สอบ กพ. ติวสอบ เตรียมสอบ แนวข้อสอบ สอบท้องถิ่น สมัครสอบ ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ประกาศสอบ งานราชการ กศน. สมัครสอบ กศน. ข้าราชการ ครู กศน. ครูผู้ช่วย นักจดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา คู่มือสอบ สอบตำรวจ ทหาร เปิดสอบ สอบ ทดสอบ ข้อสอบ GAT PAT O-NET N-NET