คำสั่ง ศธ. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย : ความท้าทายเมื่อต้องอยู่ร่วมกัน

คำสั่ง'ตรีนุช' : ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย ศธ. 

อีกหนึ่งบทเรียนและความท้าทาย 

เมื่อหนีไม่พ้นและต้องอยู่ร่วมกัน

ทันทีที่ปรากฏรายชื่อคณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร 272/2564 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 จำนวน 23 คน แล้วนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นคณะทำงานชุดพิเศษที่มีลักษณะงานค่อนข้างครอบคลุมจักรวาลการศึกษาจริง ๆ นับเป็นอีกทีมงานหนึ่ง ที่น่าทำความรู้จักในแต่ละคนเป็นอย่างยิ่ง  

จับความตามอารมณ์ในช่วงก่อนหน้านั้น วันครบรอบ 129 ปีกระทรวงศึกษาธิการ เธอบอกในทำนองว่างานของศธ.ถือเป็นงานใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะทำงานชุดที่จะเข้ามาสานต่อดูแลและแก้ไขติดตามปัญหาด้านการศึกษาในแต่ละนโยบายต่างๆ หากมีปัญหามีเรื่องติดขัดก็จะนำไปแก้ปัญหาตามความเร่งด่วน ส่วนเรื่องที่มีความซับซ้อนนั้น จะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และคงต้องมีทีมงานเพื่อปรึกษาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญในทุกนโยบายให้สามารถดำเนินการอย่างรวดเร็วได้

เมื่อพิจารณาในคำสั่งถึงอำนาจหน้าที่ของคณะทำงาน ดังนี้ กลั่นกรอง ประสาน และติดตามการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และปฎิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

หากจะกล่าวในภาพรวม ก็ไม่ได้ผิดอะไร อาจดูดีไปด้วยซ้ำ แต่ในวรรคสุดท้ายที่ระบุว่า ....ปฎิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย...กลับไม่ยักกะมีข้อความต่อท้ายที่ว่า... เมื่อคณะทำงานได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้รายงานรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ทราบโดยเร็ว

จึงนำมาสู่ การเปรียบเทียบกับท้ายคำสั่งแบ่งงาน แบ่งอำนาจ ให้ 2 รัฐมนตรีช่วย ศธ.ยังมีข้อกำกับด้วยกฎเหล็กยิบย่อยคลุมลงไปถึงประเด็นต่าง ๆ สุดท้าย ยังระบุข้อความชัดว่า เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการศธ.ให้ปฏิบัติราชการแทนตามที่ได้รับมอบอำนาจแล้ว ให้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ทราบโดยเร็ว   

อ้างอิงจาก บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) อธิบายข้อความคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับ การมอบหมาย และการมอบอำนาจ จะต้องวางแนวทาง กำหนดรายละเอียดและกำกับดูแล คํานึงถึงขีดความสามารถ วิธีปฏิบัติเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับภารกิจ ความเหมาะสมตามสภาพตําแหน่ง หรือลักษณะงานนั้น ๆ ด้วย เพราะผู้มอบอํานาจยังต้องรับผิดชอบในอํานาจของตนเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสังเกตและวิตกล่วงหน้าถึงทีมคณะทำงาน ที่มีข้อด้อยหรือข้อเด่นบางประการ อาทิ ตำแหน่ง ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ของผู้ผูกติดอยู่กับระบบ ระเบียบราชการ ย่อมมีความสุภาพ เกรงใจ ประนีประนอมค่อนข้างสูง อาจนำไปสู่ความร่วมมือที่ดี หรืออาจทำให้เกิดการละเลยในการเสนอข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

ขณะที่บุคคลที่มาจากหน่วยงานหรือองค์กรที่ค่อนข้างเป็นอิสระมีความสำเร็จสูงย่อม ที่มีความตั้งใจและแรงผลักดันสูงในการทำหน้าที่เพื่อทะยานไปสู่เป้าหมายเป็นหลัก หากปัจจัยแวดล้อมทำให้รู้สึกว่า มีเงื่อนไขตลอดข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน อีกทั้งพบเจอกับกลุ่มอิทธิพลหลากหลายภายนอก ทำให้เกิดปัญหาในการนำนโยบายที่ยากไปสู่การปฏิบัติ   อาจนำมาซึ่งความถอดใจ ไม่ยอมสุ่มเสี่ยงและความล้มละลายต่อชื่อเสียงก็ได้

เมื่อหันมาดูถึง รายชื่อคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ที่นางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. ลงนาม แต่งตั้งแล้ว จึงน่าเป็นที่ถูกจับตามองในเชิงท้าทายและให้โอกาสคณะทำงานมิใช่น้อย

เนื่องจากมีทั้งอดีตข้าราชการระดับสูงของศธ. ข้าราชการประจำของศธ.ที่ยังอยู่ในตำแหน่งนักวิชาการ นักวิจัย นักธุรกิจ ผู้บริหารระดับสูงในภาคเอกชน และ คนทำสื่อ ต่างมีความหลากหลาย มีผลงานและประสบการณ์ ตามความถนัดเป็นที่รู้จัก ยอมรับในแวดวงการศึกษา  เข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย

ประธานคณะทำงาน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อดีตเลขาธิการสภาการศึกษา อดีตที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย นายโรจนะ กฤษเจริญ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อดีตรองเลขาธิการ กพฐ. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ. , นายอนันต์ ระงับทุกข์ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อดีตหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการ (ศธ.) ระดับ 10 , นายเฉลิมพลชนม์ แน่นหนา ที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, นายสมยศ ศิริบรรณ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ผอ.สพป.กทม.ผู้ชำนาญการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานสพฐ. ประธานกรรมการติดตามโครงการกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน

นางสาวศุภธิดา พรมพยัคฆ์ อดีตผู้บริหารโครงการ Google เอเชียแปซิฟิค หัวหน้าโครงการ Google เพื่อการศึกษา บริษัท Google (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหารหลักสูตรการพัฒนาบุคคลกรในยุคดิจิทัล, นางสาว เสฏฐา  เธียรพิรากุล อัยการประจำกองสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา  สำนักงานอัยการสูงสุด  เคยทำหน้าที่ตรวจสอบกรณีการสั่งไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา ทายาท เครื่องดื่มชูกำลัง ขับรถเฟอร์รารี่ชน ดาบตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2555 , นางศศินา เลียบจันทร์ ทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์สไตล์วินเทจที่รู้จักกันในนาม “PORTOBELLO” ที่อยู่วงการมานานถึง 10 ปี เปิดร้านเบเกอรี่เล็กๆ ในชื่อเดียวกัน ตกแต่งใน สไตล์วินเทจแบบอังกฤษ ให้เช่าสถานที่ถ่ายภาพในงานต่างๆ รวมทั้งมิวสิควิดีโอ เป็นร้านอาหารที่สมบูรณ์แบบ หรือจะนัดประชุมก็ได้

นางสาวพิกุลอรุณ พิชิตชัยศิริ เลขาสมาคมแม่บ้านตำรวจ , นางสาวศาสนีย์ ปัญญายงค์ สังกัด CF-R ผู้แทนฝ่ายครัวการบินไทย , นายฆณรพ ชัยสิทธิ์ มีผลงานประเภทเรียงความและประเภทบทความวิชาการส่งเข้าประกวดชิงรางวัล ในเงินทุนภูมิพล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ , พ.ต.ท.ชวลิต น้ำใจสัตย์  สว.กก.3 บก.ปอศ. , นางณัชชารีย์ วิเชียรรัตน์ นักสื่อสารมวลชน

นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ ศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ, รองผอ.สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผอ.กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนและยกย่องเชิดชูเกียรติทรัพยากรบุคคล , นางอำภา พรหมวาทย์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักทดสอบทางการศึกษา,  ผอ.สำนักอำนวยการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา , นางมัลลวีร์ รอชโพล ผอ.กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร  มีผลงานวิจัยรูปแบบการบริหารโรงเรียนประชารัฐในยุคดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นางสาวศศิรัศม์ วีระไวทยะ นักวิชาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ , นางสาวณัฐิกา นิตยาพร ผอ.กลุ่มนิติการ สำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , นางสาวจอมหทยาสนิท พงษ์เสถียร นักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , นายยิ่งศักดิ์ ไกรพินิจ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นางสาววรรษมน จันทร์โอกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ คณะทำงาน.สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.ศธ., นางสาวสารินี โฉมแก้ว นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักอำนวยการ กศน.และ นางสาวพิมพ์นารา จงไพศาลสกุล นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สพฐ.

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเกิดผลอย่างไร ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสำคัญ ที่กระทรวงศึกษาธิการต้องสนใจศึกษาเรียนรู้ แล้วนำมาถอดรหัส เพื่อนำไปสร้างคุณภาพเด็กไทย และ อยู่กับนักการเมืองให้ได้

 

ที่มา https://www.edunewssiam.com/th/articles/249339

คำที่ค้นหาบ่อย สอบราชการ สอบ สอบ กพ. ติวสอบ เตรียมสอบ แนวข้อสอบ สอบท้องถิ่น สมัครสอบ ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ประกาศสอบ งานราชการ กศน. สมัครสอบ กศน. ข้าราชการ ครู กศน. ครูผู้ช่วย นักจดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา คู่มือสอบ สอบตำรวจ ทหาร เปิดสอบ สอบ ทดสอบ ข้อสอบ GAT PAT O-NET N-NET