แนวข้อสอบ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2546 พร้อมเฉลย

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 เป็นฉบับที่เท่าไร
  • ฉบับที่ 1                                                               ค. ฉบับที่  3
  • ฉบับที่ 2                                                               ง. ฉบับที่  4

ตอบ   ข. ฉบับที่  2

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓”

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553  ให้ไว้ ณ  วันใด
  • 12 กรกฎาคม 2553 ค. 22 กรกฎาคม 2553
  • 13 กรกฎาคม 2553 ง. 23 กรกฎาคม 2553

ตอบ   ก. 12 กรกฎาคม 2553

พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553  ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  เป็นปีที่ ๖๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 เป็นปีที่เท่าไรในรัชกาลปัจจุบัน
  • 22 ค. 56
  • 23 ง. 65

ตอบ  ง. 65       ( ดูคำอธิบายข้อ 2 )

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด
  • 12 กรกฎาคม 2553 ค. 22 กรกฎาคม 2553
  • 13 กรกฎาคม 2553 ง. 23 กรกฎาคม 2553

ตอบ   ค. 22 กรกฎาคม 2553

พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓  เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๔๕ ก

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 ใช้บังคับวันใด
  • 13 กรกฎาคม 2553 ค. 23 กรกฎาคม 2553
  • 14 กรกฎาคม 2553 ง. 24 กรกฎาคม 2553

ตอบ  ค. 23 กรกฎาคม 2553

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เป็นต้นไป

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 มีกี่มาตร
  • 6 ค. 7
  • 5 ง. 4

ตอบ  ก. 6

  1. ใครเป็นผู้รักษาการ ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553
  • นายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรี
  • รองนายกรัฐมนตรี ง. ปลัดกระทรวง

ตอบ   ค. รัฐมนตรี

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

  1. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 คือใคร
  • นายกรัฐมนตรี ค. รัฐมนตรี
  • รองนายกรัฐมนตรี ง. เลขาธิการ

ตอบ  ก. นายกรัฐมนตรี

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี

  1. ให้ตรา พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553 ตามข้อใด
  • คำแนะนำของรัฐสภา ค. คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
  • คำยินยอมของรัฐสภา ง. คำแนะนำและยินยอมของสภาการศึกษา

ตอบ   ค. คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553  มีผลใช้บังคับวันใด
  • วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • ครบกำหนดเก้าสิบวันหลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • ครบกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันหลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตอบ   ข. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553  ยกเลิก มาตราใดใน พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
  • มาตรา 33 ค. มาตรา 37
  • มาตรา 35 ง. มาตรา 39

ตอบ   ก. มาตรา 33

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา ๓๓ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาการกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาหรือมีเหตุผลความจำเป็นอย่างอื่นตามสภาพการจัดการศึกษาบางประเภท คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจประกาศกำหนดให้ขยายการบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษาหนึ่งไปในเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้”

  1. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดตามข้อใด
  • ประกาศคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ยึดกฎกระทรวง
  • ยึดระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เขตพื้นที่การศึกษา

ตอบ   ง. เขตพื้นที่การศึกษา

  1. ใครเป็นผู้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่มัธยมศึกษา
  • ปลัดกระทรวงตามคำแนะนำของสภาการศึกษา
  • รัฐมนตรีตามคำแนะนำของสภาการศึกษา
  • รัฐมนตรีตามคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เลขาธิการตามคำแนะนำสภาการศึกษา

ตอบ  ข. รัฐมนตรีตามคำแนะนำของสภาการศึกษา

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อกำหนดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน

นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

  1. กรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ยึดตามข้อใดในการอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา
  • เป้าหมายการจัดการศึกษา ค. ระดับการศึกษาของสถานศึกษา
  • ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ง. ที่ตั้งของสถานศึกษา

ตอบ  ค. ระดับการศึกษาของสถานศึกษา

  1. การดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใดให้เป็นไปตามข้อใด
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดโดยคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เลขาธิการคณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • เลขาธิการคณะกรรมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอบ  ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่มัธยมศึกษาต้องทำให้แล้วเสร็จตามข้อใด
  • 90 วัน                                                                   ค. 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้
  • 180 วัน                                                                 ง. 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ตอบ  ง. 90 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ( ดูคำอธิบายข้อ  13 )

  1. ข้อใด ไม่ใช่ เหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553
  • ความไม่คล่องตัวในการบริหารราชการ
  • ให้การบริหารการศึกษามีประสิทธิภาพ
  • ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
  • ให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิผล

ตอบ   ง. ให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิผล

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดระเบียบบริหารราชการในเขตพื้นที่การศึกษากำหนดให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการบริหารราชการ สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

  1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546  เกิดจากกฏหมายในข้อใด
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534
  • พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545

ตอบ   ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด

ก. 1 กรกฏาคม 2546                                                  ค. 7 กรกฏาคม 2546
ข. 6 กรกฏาคม 2546                                                  ง. 8 กรกฏาคม 2546
ตอบ  ข. 6 กรกฏาคม 2546

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้วันใด
    ก. 1 กรกฏาคม 2546 ค. 7 กรกฏาคม 2546
    ข. 6 กรกฏาคม 2546                                                  ง. 8 กรกฏาคม 2546
    ตอบ   ค.7 กรกฏาคม 2546

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

  1. พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีกี่หมวดและกี่มาตรา
    ก. 4 หมวด 1 บทเฉพาะกาล
    ข. 5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล
    ค. 5 หมวด 82 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
    ง. 5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 82 มาตรา
    ตอบ ง.5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล รวม 82 มาตรา

หมวด ๑  การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง

หมวด ๒ การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา

หมวด ๓  การจัดระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล

หมวด ๔  การปฏิบัติราชการแทน

หมวด ๕  การรักษาราชการแทน

  1. ข้อใด ไม่ใช่ การจัดระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
  • ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
  • ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
  • ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล

ตอบ  ค. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล

มาตรา ๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

(๑) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง

(๒) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา

(๓) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล

  1. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางในกระทรวงศึกษาธิการมีกี่ส่วนราชการ
  • 6 ส่วนราชการ                                                    ค. 4  ส่วนราชการ
  • 5 ส่วนราชการ                                                    ง. 3  ส่วนราชการ

ตอบ  ก. 6  ส่วนราชการ

มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

(๑) สำนักงานรัฐมนตรี

(๒) สำนักงานปลัดกระทรวง

(๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

(๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

(๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่า

ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

  1. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
  • สำนักงานปลัดกระทรวง ค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
  • สำนักงานรัฐมนตรี ง. มีฐานะเป็นกรมทั้ง  ก  ข และ  ค

ตอบ  ข. สำนักงานรัฐมนตรี  ( ดูคำอธิบายข้อ 23 )

  1. การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องทำเป็นกฎหมายใด
  • พระราชกฤษฎีกา
  • ประกาศกระทรวง
  • กฏกระทรวง
  • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตอบ   ค. กฏกระทรวง               

มาตรา ๑๑ การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการดังกล่าว

คำที่ค้นหาบ่อย สอบราชการ สอบ สอบ กพ. ติวสอบ เตรียมสอบ แนวข้อสอบ สอบท้องถิ่น สมัครสอบ ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ประกาศสอบ งานราชการ กศน. สมัครสอบ กศน. ข้าราชการ ครู กศน. ครูผู้ช่วย นักจดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา คู่มือสอบ สอบตำรวจ ทหาร เปิดสอบ สอบ ทดสอบ ข้อสอบ GAT PAT O-NET N-NET