20 ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูยุค 4.0

บทความนี้ ผู้เขียนได้แปล และเรียบเรียงจากบทความเรื่อง “20 Essential Skills and Qualities Every Teacher Needs” (สืบค้นจาก https://www.careeraddiet.com/teacher-skill) สาระสำคัญดังจะนำเสนอต่อไปนี้

ครูต้องมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง การดำรงชีวิตของนักเรียน ครูควรพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีการศึกษาที่ดี เป็นนักเรียนที่น่านับถือ ครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนไม่เพียงแต่สอนให้นักเรียนเจริญเติบโตด้านความรู้เท่านั้น แต่ครูต้องช่วยให้นักเรียนปรับปรุงด้านส่วนตัวของนักเรียน เช่น ความประพฤติ การแต่งกาย และกริยามารยาท เป็นต้น

ที่สำคัญก็คือ ครูที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นครูที่มีทักษะทางอาชีพที่หลากหลาย

20 ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูยุค 4.0 มีดังต่อไปนี้

1. Enthusiasm : ครูที่ยิ่งใหญ่ คือครูที่มีความกระตือรือร้นในงานที่ทำ และในบทเรียนที่สอน อีกอย่างหนึ่งคือ ครูต้องส่งเสริมให้นักเรียนมีอารมณ์ร่วมในการเรียน ประการสุดท้ายครูควรรื่นเริง และสนุกสนาน

2. Leadership : ครูที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีความสามารถนำ และแนะแนวทางแก่นักเรียนในห้องเรียน บริหารจัดการนักเรียนที่มีความแตกต่างทางบุคลิกภาพ ตลอดจนช่วยควบคุมนักเรียน ที่มีความบกพร่องด้านคุณธรรม และครูควรนำทางนักเรียนให้ประพฤติไปในแนวทางที่ดี และสุดท้ายครูต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน

3. Organization : หมายถึง การจัดการอย่างมีระบบ ครูต้องตัดสินว่างานใดที่มีความสำคัญก่อนหลัง การบันทึกการสอนควรระบุกิจกรรมอะไรบ้าง และมีการสอบให้คะแนนอย่างไร? นอกจากนั้น ครูยังต้องทำงานอื่นๆ ให้เกิดความสมบูรณ์ในหน้าที่ และเสร็จตามเวลาที่กำหนด

4. Respectful : ครูที่ดีต้องเป็นผู้ที่เคารพนับถือของเด็ก ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อพวกเขาแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน และครูควรสอนให้เด็กเป็นผู้ฟังที่ดี เคารพความคิดเห็นของคนอื่น อย่างไรก็ตาม นักการศึกษาเห็นว่าครูต้องสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีให้เด็กอีกด้วย

5. Multitasking : ครูไม่เพียงแต่สอนตามหลักสูตร หรือเป็นผู้สอบให้คะแนนเท่านั้น แต่ครูต้องทำงานให้ได้หลายด้าน (Multitasking) ครูที่ดีต้องมีตารอบตัว คือตรวจตราพฤติกรรมของเด็ก และให้ความสนใจเด็กขณะที่สอนในห้องเรียน เมื่อการสอนครั้งๆ หนึ่งเสร็จลงแล้ว ครูต้องเตรียมการสอนล่วงหน้าทุกสัปดาห์ ในขณะเดียวกันต้องออกข้อสอบ และให้คะแนน ตลอดจนมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทำ

6. Teamwork : ครูที่มีความสามารถต้องทำงานเป็นทีม และทำให้นักเรียนรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของทีม ส่งเสริมให้นักเรียนได้ประสบการณ์จากการทำงานเป็นทีม และครูควรสอนนักเรียนแก้ปัญหาเป็น และครูต้องสร้างสรรค์แผนงานต่างๆ ในการสอนให้เกิดขึ้น

7. Ability to Teach : มีความสามารถ และทักษะในการสอน มีแบบการสอนของตนเอง และสาธิตการสอนให้เด็กเห็นให้ดูของจริง การสอนต้องอธิบาย Concept ให้นักเรียนเข้าใจอย่างชัดเจน โดยวิธีการง่ายๆ มีการยกตัวอย่าง มีอุปกรณ์การสอนแสดงให้นักเรียนดู

8. Communication : ครูต้องมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารอย่างโดดเด่น (Remarkable) สามารถติดต่อปะทะสัมพันธ์กับประชาชนทุกอายุ รวมถึง ยังต้องติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน นักเรียน และผู้บริหารอื่นๆ

9. Adaptability : การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น เป็นกุญแจสำคัญของครู กล่าวคือครูไม่อาจรู้ว่าจะมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้นบ้างในชั้นเรียน เช่น นักเรียนเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บอย่างกะทันหัน ครูต้องรีบแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างรวดเร็ว เช่น แจ้งไปยังหน่วยกู้ภัย หรือครูพาเด็กไปส่งที่โรงพยาบาล เป็นต้น

10. Interpersonal Skills : ครูที่เป็นมิตรกับนักเรียน จะต้องมีบุคลิกภาพที่น่ารักมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เอาใจใส่ และเห็นอกเห็นใจนักเรียน ที่สำคัญ ควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษแก่นักเรียนที่พิการ และด้อยความสามารถ

11. Creativity : ครูต้องสร้างสรรค์ให้นักเรียนสนใจ และพัวพัน (engaged) กับนักเรียน โดยเฉพาะชั้นประถมศึกษา หาทางหลายด้านเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสนใจของนักเรียนในขณะที่อยู่ในชั้นเรียน ครูมีวิธีการสอนหลากหลายวิธี เช่น บทบาทสมมุติ (roleplay) หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความสนุกสนาน (fun)

12. Self-Evaluation : เพื่อเป็นการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง และเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการศึกษา ครูจะต้องประเมินตนเอง และสร้างตนเองให้เป็นคนใหม่ทันสมัย และควรจำไว้ว่าสิ่งใดที่ทำผิดพลาดมาในอดีต ต้องนำมาปรับปรุงตนเอง และประเมินตนเอง ที่สำคัญต้องปรับปรุงชั้นเรียน ที่ตนสอนอยู่อย่างสม่ำเสมอ

13. Patience : ความอดทน เป็นกุญแจดอกสำคัญในการทำงานร่วมกับเด็กและวัยรุ่น การที่จะให้ เด็กและวัยรุ่นหมดทุกคนมีความประพฤติ หรือพฤติกรรมที่ดีนั้น เป็นไปไม่ได้ ครูจึงควรเข้าใจพฤติกรรมที่พวกนักเรียนแสดงออก และอดทนเฝ้าดูพฤติกรรมเหล่านั้น ถ้าหากนักเรียนยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูสอน ครูต้องหาทางหลายๆ ด้านมาอธิบายในสิ่งนั้นๆ ให้นักเรียนได้เข้าใจ

14. Emotional Intelligence : ครูที่ดีต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ สามารถควบคุมความโกรธ (angry) และอารมณ์เสีย (upset) ของตนเองให้ได้ในทุกขณะทุกโอกาส แต่ถ้าหากครูไม่สามารถควบคุมความโกรธ และอารมณ์ได้แล้ว ครูก็ต้องประสบกับความเสียหายในตนเอง

15. Empathy : ถ้าครูเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจนักเรียนแล้ว นักเรียนก็จะเรียนรู้ในการควบคุม อารมณ์ด้วย และในที่สุดนักเรียนจะต้องมีความสงสารผู้อื่น และอีกอย่างหนึ่งครูต้องสร้างสุขอนามัยด้านทักษะอารมณ์ทางสังคม (healthy social – emotional skill) ของนักเรียนอีกด้วย การเรียนในชั้นเรียนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากการเรียนรู้แบบชุมชนห้องเรียน (classroom community) การเรียนรู้แบบชุมชนห้องเรียน (classroom community) คือห้องเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมแบบเฉพาะตัว (Unique) สำหรับเด็กให้ได้รับประสบการณ์ จากความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง นักเรียนสร้างสรรค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของตนเองให้เกิดขึ้น ชุมชนห้องเรียนที่แข็งแรงนั้น ประกอบด้วย การเรียนที่นักเรียนได้รับมอบอำนาจจากครู นักเรียนกำหนดค่านิยมร่วมกัน และท้ายที่สุดนักเรียนจะมีความเจริญเติบโตในทุกๆ ด้าน

16. Critical Thinking : ครูต้องเป็นผู้แก้ปัญหาที่หลากหลายได้ ปัญหาที่มักเกิดกับนักเรียนบ่อยๆ ได้แก่ ปัญหาความขัดแย้ง ครู้ต้องตอบปัญหาที่เป็นจุดด่างพร้อยของนักเรียนให้ได้ ที่สำคัญครูต้องสร้างบทเรียนใหม่ๆ ให้แก่นักเรียน สอนการเล่นเกมส์ และต้องสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดกับนักเรียนกับเพื่อนๆ

17. Confidence : คือความมั่นใจ ท่านไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้ ถ้าหากท่านไม่มีความมั่นใจในตนเอง การที่จะยืนหน้าห้องเรียนได้อย่างสง่าผ่าเผยได้นั้น ครูต้องมีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง ตอบคำถามนักเรียนได้ และต้องใส่ใจที่จะทำให้ตนเองเกิดความมั่นใจในขณะที่สอนในชั้นเรียน

18. Commitment : คือความมุ่งมั่น ถ้าท่านต้องการเป็นครูที่ดี ท่านต้องรับผิดชอบในงานการสอน และงานดูแลชั้นเรียน ที่สำคัญ ครูต้องสอนให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น

19. A Sense of Humour : คือมีอารมณ์ขัน ครูจะมีอารมณ์ขันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทักษะของแต่ละบุคคล ถ้าหากครูมีอารมณ์ขันด้วยแล้ว ก็จะเกิดประโยชน์แก่นักเรียน ครูที่หัวเราะ และทำให้ บทเรียนสนุกสนาน นักเรียนจะมีความสุข และพวกเขาพร้อมเปิดใจที่จะเรียน

20. Approachableness : คือการเข้าถึงได้ง่าย เป็นคุณสมบัติที่จำเป็นสำหรับครูที่จะพึงมี นักเรียนต้องการที่จะถามคำถามครู และต้องการพูดคุยกับครู เมื่อพวกเขามีปัญหาโดยปกติแล้วนักเรียนมักกลัวครู และคิดว่าสิ่งที่พวกเขาถามหรือคุยกับครูนั้นเป็นสิ่งที่ผิด

 

คำที่ค้นหาบ่อย สอบราชการ สอบ สอบ กพ. ติวสอบ เตรียมสอบ แนวข้อสอบ สอบท้องถิ่น สมัครสอบ ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ประกาศสอบ งานราชการ กศน. สมัครสอบ กศน. ข้าราชการ ครู กศน. ครูผู้ช่วย นักจดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา คู่มือสอบ สอบตำรวจ ทหาร เปิดสอบ สอบ ทดสอบ ข้อสอบ GAT PAT O-NET N-NET