ประธาน กมว.ย้ำหลังปี 63 ยกเลิกหลักสูตร ป.บัณฑิต

กมว.ย้ำหลังปี 63 หลักสูตรป.บัณฑิตสูญพันธุ์
ประธาน กมว. ย้ำ หลังปีการศึกษา 2563 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสูญพันธุ์

วันนี้ (24 ธ.ค.) รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า ในการประชุม กมว. เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูสำหรับผู้ที่ไม่ได้จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แต่ต้องการเป็นครู ซึ่งจะนำมาใช้แทนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ที่เปิดสอนปีการศึกษา 2562 เป็นปีสุดท้าย แต่ทั้งนี้ยังมีสถานบันการศึกษาบางแห่งที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาให้เปิดสอนป.บัณฑิตเป็นเวลา 5 ปี ที่ประชุมจึงมีมติให้สถาบันเหล่านั้นยังคงได้รับสิทธิเปิดสอน ป.บัณฑิต ต่อไปจนกว่าผลการรับรองจะครบกำหนด แต่หลังจากปี 2563 แล้วก็จะไม่มีสถาบันใดเปิดสอนป.บัณฑิตอีก แต่จะใช้หลักสูตรพัฒนาความเป็นครูมาทดแทน และเมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรพัฒนาความเป็นครูแล้ว ก็จะให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เท่านั้นที่มีสิทธิสอนหลักสูตรนี้

รศ.เอกชัย กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังมีข้อเสนอให้สถาบันที่ต้องใช้ครูจำนวนมากๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) , สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ทำความตกลงกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อจัดหลักสูตรความเป็นครูเฉพาะกลุ่ม และให้หน่วยงานนั้นๆนำบุคลากรที่ต้องการให้เป็นครูมาเรียน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการขาดคุณสมบัติความเป็นครู ซึ่งที่ประชุมได้ขอให้ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุครู กศน.และ ครูอาชีวศึกษา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากระเบียบกศน.นั้น ครู กศน.ไม่ต้องมีใบอนุญาตฯ แต่หากจะบรรจุเป็นข้าราชการครู หลักเกณฑ์ของ ก.ค.ศ.ระบุว่า ต้องมีใบอนุญาตฯ ดังนั้นหากมีความจำเป็นที่ครู กศน.ต้องมีใบอนุญาตฯ ก็ให้ กศน.ทำความตกลงกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จัดหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูให้กับครูกศน. ซึ่งเรื่องนี้ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ ก.ค.ศ.ที่ได้เข้าประชุมด้วยก็รับที่จะนำไปพิจารณา

"ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการจัดสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งจะแบ่งการสอบเป็น 5 กลุ่มวิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความฉลาดรู้เรื่องเทคโนโลยีและดิจิทัล วิชาเอก และ วิชาครู โดยไม่ต้องสอบให้ผ่านทั้ง 5 กลุ่มใน 1 ครั้ง แต่สามารถสอบทีละกลุ่มได้ และเก็บคะแนนไว้ได้ 3 ปี แต่หากครบ 3 ปี แล้วยังผ่านได้ไม่ครบ 5 กลุ่ม ก็ต้องเริ่มต้นสอบใหม่ ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบนั้น ที่ประชุมเห็นว่า ผู้เข้าสอบน่าจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย แต่จะให้เสียน้อยที่สุด" ประธานกมว. กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562

 

เลิก‘ป.บัณฑิต’!กมว.ใช้‘หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู’แทน รองรับคนไม่จบครุฯแต่ฝันเป็นครู

กมว.เตรียมใช้เหลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทนหลักสูตร “ป.บัณฑิต” เพื่อรองรับผู้ที่ไม่จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่ต้องการเป็นครู พร้อมให้ นศ.ครูที่เคยสอบ 5 กลุ่มวิชาภายใน 1 ครั้ง ให้สอบได้ทีละกลุ่มวิชา ภายใน 3 ปี ป้องกันเครียด

22 ธันวาคม 2562 รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ(กมว.) คุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุม กมว. ว่า ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับหลักสูตรพัฒนาความเป็นครู ซึ่งจะนำมาแทนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต(ป.บัณฑิต) เพื่อพัฒนาผู้ที่ไม่ได้จบคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ แต่มีความต้องการเป็นครู โดยหลักสูตร ป.บัณฑิต จะเปิดสอนปีการศึกษา 2562 เป็นปีสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมาคุรุสภาได้ให้การรับรองสถาบันการศึกษาเปิดสอนหลักสูตร ป.บัณฑิต ได้เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าการรับรองดังกล่าวยังมีผลสำหรับสถาบันการศึกษาจำนวนหนึ่ง ที่ประชุมจึงมีมติให้สถาบันการศึกษานั้นได้รับสิทธิเปิดสอนหลักสูตร ป.บัณฑิต จนกว่าผลการรับรองจะหมดเขต เพื่อไม่ให้สถาบันการศึกษานั้นๆเสียสิทธิ แต่หลังจากปี 2563 แล้ว จะไม่มีสถาบันการศึกษาใดที่เปิดสอนหลักสูตร ป.บัณฑิต อีก โดยจะให้ใช้หลักสูตรพัฒนาความเป็นครูมาทดแทน

รศ.เอกชัย กล่าวอีกว่า ในช่วงเวลา 1 ปีนี้ สถาบันการศึกษาที่ยังมีผลการรับรองหลักสูตร ป.บัณฑิต จะเปิดสอนต่อไปก็เป็นสิทธิของสถาบันนั้น ส่วนผู้เรียนก็คงต้องพิจารณาเลือกเรียนเองว่าจะเรียนในสถาบันที่สอนหลักสูตร ป.บัณฑิต หรือเรียนในสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพัฒนาความเป็นครู และเมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรพัฒนาความเป็นครูแล้ว ก็จะให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เท่านั้นที่มีสิทธิสอนหลักสูตรนี้

 

“ที่ประชุมมีข้อเสนอให้สถาบันที่ต้องใช้ครูจำนวนมากๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) , สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) ทำความตกลงกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อจัดหลักสูตรความเป็นครูเฉพาะกลุ่ม และให้หน่วยงานนั้นนำบุคลากรที่ต้องการให้เป็นครูมาเรียน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการขาดคุณสมบัติความเป็นครู ซึ่งที่ประชุม กมว.ได้ขอให้ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ทบทวนหลักเกณฑ์การบรรจุครู กศน.และ ครูอาชีวศึกษา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” รศ.เอกชัย กล่าว

รศ.เอกชัย ระบุว่า ทั้งนี้เนื่องจากระเบียบ กศน.นั้น ครู กศน.ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่หากบรรจุเป็นข้าราชการครู เกณฑ์ของ ก.ค.ศ.ระบุว่าต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องให้ครู กศน.ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ให้ กศน.ทำความตกลงกับคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จัดหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูให้กับครู กศน. ซึ่งเรื่องนี้ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ ก.ค.ศ.ที่ได้เข้าประชุม กมว.ด้วยก็รับที่จะนำไปพิจารณา

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการจัดสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งจะแบ่งการสอบเป็นกลุ่มวิชา 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ความฉลาดรู้เรื่องเทคโนโลยีและดิจิทัล วิชาเอก และวิชาครู โดยนิสิตนักศึกษาครูสามารถสอบเก็บคะแนนเป็นกลุ่มวิชา โดยไม่ต้องสอบให้ผ่านทั้ง 5 กลุ่มภายใน 1 ครั้ง แต่สามารถสอบทีละกลุ่มวิชา จะได้ไม่เครียด และสามารถเก็บคะแนนได้เป็นเวลา 3 ปี แต่หากครบ 3 ปี แล้วยังผ่านหรือได้ไม่ครบ 5 กลุ่ม ก็ต้องเริ่มต้นสอบใหม่ทั้งหมด ส่วนค่าใช้จ่ายในการสอบนั้น ในที่ประชุม กมว.เห็นว่า ผู้เข้าสอบน่าจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย แต่จะให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2562

คำที่ค้นหาบ่อย สอบราชการ สอบ สอบ กพ. ติวสอบ เตรียมสอบ แนวข้อสอบ สอบท้องถิ่น สมัครสอบ ท้องถิ่น อบต. เทศบาล ประกาศสอบ งานราชการ กศน. สมัครสอบ กศน. ข้าราชการ ครู กศน. ครูผู้ช่วย นักจดการงานทั่วไป นักวิชาการศึกษา คู่มือสอบ สอบตำรวจ ทหาร เปิดสอบ สอบ ทดสอบ ข้อสอบ GAT PAT O-NET N-NET